วันอาทิตย์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2555

สนามแม่เหล็ก (Electric and Magnetic Field: EMFs)


สนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็ก (Electric and Magnetic Field: EMFs) จะหมายถึง เส้นสมมุติที่เขียนขึ้นเพื่อแสดงอาณาเขตและความเข้มของเส้นแรงที่เกิดขึ้นระหว่างวัตถุที่มี ความแตกต่างของศักย์ไฟฟ้าหรือแรงดันไฟฟ้า (เรียกว่า สนามไฟฟ้า) และที่เกิดขึ้นโดยรอบ วัตถุที่มีกระแสไฟฟ้าไหล (เรียกว่า สนามแม่เหล็ก) ในกรณีกล่าวถึงทั้ง สนามไฟฟ้าและ สนามแม่เหล็กพร้อมกันมักจะเรียกรวมว่า สนามแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Field: EMF) หรือ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า สนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็กสามารถเกิดขึ้นได้ 2 ลักษณะคือ
สนามแม่เหล็ก (Electric and Magnetic Field: EMFs) 1)
เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ได้แก่ สนามแม่เหล็กโลก คลื่นรังสีจากแสงอาทิตย์ คลื่นฟ้าผ่า คลื่นรังสีแกมมา เป็นต้น 2) เกิดขึ้นจากการสร้างของมนุษย์ แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ สนามแม่เหล็กโลกและปรากฏการณ์ ฟ้าผ่าจากสนามไฟฟ้า
- แบบจงใจ คือสนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่จงใจ สร้างให้เกิดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์หลักที่จะใช้ ประโยชน์โดยตรงจากคลื่นสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ที่สร้างขึ้นนี้ เช่น ให้สามารถส่งไปได้ในระยะ ไกลๆ ด้วยการส่งสัญญาณของระบบสื่อสาร สัญญาณเรดาร์ คลื่นโทรศัพท์ คลื่นโทรทัศน์ และ คลื่นวิทยุ และการใช้คลื่นไมโครเวฟ ในการให้ความร้อน เป็นต้น
- แบบไม่จงใจ คือสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ที่เกิดจากการใช้งานอุปกรณ์ โดยไม่ได้มี วัตถุประสงค์หลักที่จะใช้ประโยชน์ โดยตรงจากสนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่เกิดขึ้น เช่น ระบบส่งจ่ายกำลังไฟฟ้า (สายส่งไฟฟ้า) รวมถึงอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น
ที่มา : http://www.electron.rmutphysics.com

ภาพประกอบ
ภาพประกอบ


ดาวน์โหลดบทความ

วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2555

เจ๋ง!! นักวิทย์ฯพัฒนา เข็มฉีดยาเลเซอร์ รู้สึกเหมือนแค่ถูกลมพัด



เจ๋ง!! นักวิทย์ฯพัฒนา เข็มฉีดยาเลเซอร์ รู้สึกเหมือนแค่ถูกลมพัด

สำหรับใครที่กลัวเข็มฉีดยาคงได้รับข่าวดี เมื่อทีมมหาวิทยาลัยโซลแห่ง ชาติ ของเกาหลีใต้ได้ค้นหาวิธีที่จะทำให้การฉีดยาเป็นเรื่องที่ไม่น่ากลัว โดยประดิษฐ์อุปกรณ์ลำแสงเลเซอร์ใช้ฉีดยาแทนเข็ม ซึ่งเมื่อได้รับการฉีดจะรู้สึกราวกับว่ามีลมพัดมาถูกตัว ไม่เจ็บแม้แต่นิดเดียว

รายงานยังระบุว่า อุปกรณ์นี้สามารถยิงลำน้ำยาขนาดเท่าเส้นผมคน ด้วยความเร็ววินาทีละ 30 เมตร ทะลุผิวหนังด้วยแรงกดดันที่สูงกว่าความต้านทานของผิวหนัง ลงไปใต้ผิวหนัง โดยยาไม่หกออกมาเลอะเทอะ

ทั้งนี้ ในวารสารวิชาการมีการรายงานว่า อุปกรณ์ดังกล่าวถูกนำมาใช้ก่อนหน้านี้อยู่แล้ว ในการผ่าตัดเสริมสวย และได้ทดลองกับหมู พบว่าหนังที่หนาหลายมิลลิเมตรของมันก็สามารถฉีดยาเข้าไปได้โดยที่ไม่มีบาดแผลแต่อย่างใด โดยเตรียมที่จะทดลองตามสถานพยาบาลต่อไป

ที่มา: Mthai News

ควันจากน้ำอัดลมมาจากไหน ???



อากาศร้อน ๆ แบบนี้เพื่อน ๆ หรือน้อง ๆ คนไหนชอบดื่มน้ำอัดลมแบบเย็น ๆ กันบ้างไหมครับ ถ้าชอบดื่มล่ะก็ อาจจะมีบางคนเคยได้เห็นเวลาที่เราเปิดขวดหรือกระป๋องนั้น หลาย ๆ คนอาจจะเคยสังเกตุเห็น ควันลอยออกมาใช่ไหมครับ แต่ใครจะรู้ล่ะว่า ควันนั้นคืออะไร แล้วเกิดขึ้นได้อย่างไร วันนี้ผมมีคำตอบครับ

จริง ๆ แล้ว ควัน ที่เราเห็นนั้น ก็คือ "ไอน้ำที่กลั่นตัว" ไอน้ำกับคาร์บอนไดออกไซด์จะอยู่รวมกันตรงบริเวณที่ว่างระหว่างน้ำอัดลมกับฝาขวดหรือกระป๋อง ดังนั้น เมื่อเปิดฝาขวดหรือกระป๋องแรงดันภายในนั้นจะถูกปลดปล่อยออกมาอย่างรวดเร็ว แล้วดันก๊าซทั้งสองให้ลอยขึ้นมาจากขวดหรือกระป๋องด้วย แรงที่ถูกปล่อยออกมาอย่างรวดเร็วนั้นจะส่งผลให้อุณหภูมิบริเวณรอบ ๆ ขวดหรือกระป๋องนั้นลดลงอย่างฉับพลัน อุณภูมิที่ลดต่ำนี้สร้างผลกระทบต่อเนื่องโดยทำให้ไอน้ำที่ลอยออกจากขวดหรือกระป๋องกลั่นตัว และทำให้มีควันบาง ๆ ลอยขึ้นมาจากขวดหรือกระป๋องนั่นเองครับ

ขอบคุณข้อมูลจาก Blog ความรู้รอบตัว Magazine

วันศุกร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2555

การทดลองรูปร่างของสนามแม่เหล็ก


การทดลองรูปร่างของสนามแม่เหล็ก
ฟิสิกส์สำหรับครูวิทยาศาสตร์2
สาขาวิทยาศาสตร์ทั่วไป
คณะศึกษาศาสตร์   มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

การทดสองแม่เหล็กไฟฟ้า




การทดลองเรื่องแม่เหล็กไฟฟ้า วิชาฟิสิกส์ ม.6
โดย ครูมีนา จำรัส
โรงเรียนนารีรัตน์จังหวัดแพร่

วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2555


เชิญศิษย์ ต.พ. ทุกคน ร่วมแสดงมุทิตาจิตแด่คุณครูที่เกษียณอายุราชการ เวลาประมาณ 8.00 น. เป็นต้นไป มี ผอ.ธีรวัฒน์ ครูสมชาย ครูรัชรี ครูปราณี ครูขจรศักดิ์ ครูพรทิพย์(ชา) และนักการฯ ลุงเสน่ห์ กับลุงคำรณ ครับ


เมื่อถึงวันเวลาฟ้าก็เปลี่ยน 
กาลเกษียณเวียนมาน่าใจหาย 
ต้องอำลาจากกันแสนอาลัย 
แต่สายใยความผูกพันยังมั่นคง 

คุณความดีประจักษ์เป็นหลักฐาน 
ตรากตรำงานอย่างซื่อสัตย์มิไหลหลง 
พัฒนาชาติไทย(ธนาคารเรา)ให้ยืนยง 
เกียรติดำรงก้องปรากฏมิวางวาย 

ระยะทางจักเป็นเครื่องพิสูจน์ม้า 
วันเวลาบอกคุณค่าของคนได้ 
ผ่านร้อนเย็นอุปสรรคมามากมาย 
ความดีงามที่สร้างไว้มิมีเลือน 

ขออัญเชิญพระไตรรัตน์มาปกป้อง 
จงคุ้มครองให้มีสุขหาใครเหมือน 
เกียรติภูมิจะปรากฏเป็นหลักเรือน 
คอยย้ำเตือนตราตรึงตราบนิรันดร์

ขอขอบคุณ กลอนวันเกิด โดยคุณ doohub จาก toursisaket.com

กรด เบส การแตกตัวของน้ำ



เป็นภาษาอังกฤษนะครับ !

วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2555

krudangphys (ครูจิรวัฒน์ จวนทองรักษ์)

ครูแดง(ครูจิรวัฒน์ จวนทองรักษ์) นักเรียน ม.6 ได้สร้าง site ที่น่าสนใจมากมาย ลองแวะไปชมกันครับ
https://sites.google.com/site/krudangphys/home

เครื่องถ่ายเอกสาร

ปี พ.ศ. 2478 นักฟิสิกส์ชื่อเชสเตอร์ เอฟ.คาร์ลสัน ได้จดสิทธิบัตรกระบวนการทำสำเนาอย่างง่าย ซึ่งได้เปลี่ยนโฉมงามในสำนักงานไปมาก คาร์ลสันเริ่มต้นจากการคิดค้นทำแบบพิมพ์สีเขียวและเอกสารอื่นๆ ในปี พ.ศ. 2481 เขาได้ค้นพบวิธีทำสำเนาอย่างหยาบโดยใช้ประจุไฟฟ้า (คล้ายกับไฟฟ้าสถิต) กระบวนการดังกล่าวเรียกว่า Xerography ซึ่งมาจากภาษากรีกสองคำ คือ Xerox และ graphics ซึ่งแปลว่า แห้ง และ พิมพ์ ตามลำดับ ดังนั้น Xerography จึงหมายถึงการพิมพ์แห้ง
 กระบวนการถ่ายเอกสาร
     1.  เริ่มต้นจากดรัมซึ่งเคลือบด้วยสารซีลีเนียมหมุนไปโดยรอบ ภายใต้ขั้วไฟฟ้าแรงดันสูง (7,000 โวลต์) สารซีลีเนียมบนผิวดรัมจะเกิดมีประจุไฟฟ้าบวก (รูปที่ 2)
                2.  ต่อมา เลนส์และกระจกเงาจะฉายภาพจากเอกสารต้นฉบับลงบนดรัมที่กำลังหมุน ส่วนขาวของเอกสารต้นฉบับจะทำให้ประจุไฟฟ้าบนดรัมหายไป แต่ส่วนดำของเอกสารต้นฉบับไม่ทำลายประจุไฟฟ้า ดังนั้น ดรัมจึงมีประจุไฟฟ้าบวกเหลืออยู่ตามแนวเส้นสีดำบนเอกสารต้นฉบับ (รูปที่ 3)
                3.  ประจุไฟฟ้าบวกบนดรัมที่เหลืออยู่จะมีลักษณะเหมือนกับเงาในกระจกของต้นฉบับ ผงหมึกซึ่งมีประจุไฟฟ้าลบจะเข้าเกาะบริเวณที่มีประจุไฟฟ้าบวกบนดรัม  (รูปที่ 4)
                4.  หลังจากนั้น แผ่นกระดาษซึ่งมีประจุไฟฟ้าบวกจะกลิ้งไปบนดรัมที่กำลังหมุนและดูดผงหมึกบนดรัมมาไว้บนกระดาษ ภาพที่ได้จึงมีลักษณะเหมือนกับต้นฉบับ  (รูปที่ 5)
                5.  ขั้นตอนสุดท้าย ความร้อนจะทำให้ผงหมึกอ่อนตัวและหลอมติดกับเนื้อกระดาษ ได้เป็นสำเนาที่ถาวรออกจากเครื่องถ่ายเอกสาร  (รูปที่ 6)

ขอขอบคุณ ข้อมูลจาก ฟิสิกส์ราชมงคล

วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2555

คะแนน เคมี 1/2555


                           คะแนนเก็บเต็ม 55 คะแนน                                                                
                           รายงานการทดลอง 15 คะแนน                                                        
                           สอบปลายภาค 30 คะแนน                                                                 
รวม 100 คะแนน                                                                                                             



วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2555

พลังงานแบตเตอร์รี่นาโน



อุปกรณ์ในโลกเทคโนโลยีทุกวันนี้มีแต่จะแข่งขันกันผลิตเครื่องใช้ที่มีขนาดเล็กลงทุกวัน ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ โน๊ตบุค โทรศัพท์มือถือ ซึ่งสิ่งที่จำเป็นต้องพัฒนาควบคู่กันไปนั้นก็คือสิ่งที่ให้พลังงานเครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านี้ให้ทำงานได้อย่างสมบูรณ์แบบก็คือ แบตเตอร์รี่

คุณสมบัติที่ผู้ใช้อุปกรณ์อิเลกทรอนิกส์ต่างๆ ต้องการจากแบตตเตอร์รี่ก็คือ ขนาดของแบตเตอร์รี่ที่เล็กลง นำหนักเบา สามารถเก็บพลังงานได้มากขึ้น และมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน

FET (Front-Edge Technology) ผู้ผลิตแบตเตอร์รี่รายใหญ่ที่ผลิตแบตเตอร์รี่ที่เป็นที่ต้องการในวงการอุตสาหกรรมอุปกรณ์อิเลกทรอนิกส์ในปัจจุบันได้ตอบสนองความต้องการดังกล่าว ด้วยการการศึกษา และพัฒนามากว่า 10 ปี ทำให้สามารถผลิตแบตเตอร์รี่แบบที่บางเป็นพิเศษในระดับ นาโน เลยทีเดียว กับผลงานที่มีชื่อว่า Nano Energy battery

การผลิตแบตเตอร์รี่ที่สามารถยืดหยุ่นได้นั้น เป็นรูปแบบของการผลิตแบตเตอร์รี่ที่เป็นที่ต้องการในยุคปัจจุบัน เนื่องจากสามารถนำไปปรับใช้กับอุปกรณ์อิเลกทรอนิกส์ต่างๆ ได้อย่างสะดวก ซึ่ง Nano Energy battery นั้นเป็นแบตเตอร์รี่ที่มีการใช้พลังงานจาก lithium phosphorus oxynitride (LiPON) ที่ไม่เพียงแต่จะช่วยให้แบตเตอร์รี่ชนิดนี้ยืดหยุ่นได้ แต่ยังช่วยเพิ่มความสามารถในการใช้พลังงานด้วย

สำหรับขนาดของ Nano Energy battery นั้น มีขนาดที่พิเศษมาก นั่นคือมีขนาดที่บางเฉียบ บางมากกว่ากระดาษทั่วไปถึง 200 เท่า จนเปรียบเสมือนแผ่นฟิล์มบางๆ ที่โค้งงอได้ตามอุปกรณ์ที่จะนำไปบรรจุนอกจากนั้นแบตเตอร์รี่นี้ยังสามารถนำไปชาร์ตพลังงานได้มากกว่า 1,000 ครั้ง และสามารถบรรจุพลังงานได้อย่างรวดเร็ว แค่เพียง 15 นาทีก็สามารถชาร์ตพลังงานได้มากกว่า 80 เปอร์เซนต์อีกด้วย

NanoEnergy battery จึงเป็นอีกนวัตกรรมที่น่าสนใจที่จะช่วยส่งเสริมการออกแบบอุปกรณ์อิเลกทรอนิกส์ต่างๆ ให้พัฒนาไปได้อย่างไม่หยุดยั้ง ทั้งด้านขนาดและการดีไซน์ ด้วยการใช้แบตเตอร์รี่ที่เอื้อกับการใช้งานอย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น

ข้อมูลเพิ่มเติม http://www.gizmag.com/nanoenergy-battery/11685/

ที่มา : http://www.scimath.org/index.php/physicsarticle/item/612-nano-energy-battery

หลักการของภาพยนตร์ 3 มิติ



อออออคงปฏิเสธไม่ได้นะครับว่ากระแสของเทคโนโลยีภาพ 3 มิติ กำลังมาแรงในปัจจุบัน ภาพยนตร์ 3 มิติ ต่างแข่งขันกันลงโรงไม่ขาดสายตลอดทั้งปี ทั้งๆที่บัตรเข้าชมโรงภาพยนตร์ 3 มิติ นั้นมีราคาแพงกว่าภาพยนตร์ธรรมดาอยู่ไม่น้อย แต่เราก็มักจะยอมควักกระเป๋าจ่าย เพื่อแลกกับอรรถรสในการชมภาพยนตร์แบบสมจริงถึงขั้นที่ต้องนั่งหลบกระสุนหรือดาบไปพร้อมๆกับนักแสดงเลยทีเดียว แล้วเคยสงสัยกันบ้างมั้ยครับว่า ภาพยนตร์ 3 มิตินั้น มีหลีกการอย่างไร ทำไมถึงต้องใส่แว่นในขณะรับชม มาร่วมเรียนรู้เกี่ยวกับภาพยนตร์ 3 มิติด้วยกันนะครับ

อออออภาพยนตร์ 3 มิติ เกิดจากการใช้เครื่องถ่ายภาพยนตร์ 2 เครื่อง ซ้ายและขวาถ่ายภาพเดียวกันในเวลาเดียวกัน ในการฉายก็ใช้เครื่องฉายภาพยนตร์ 2 เครื่อง ฉายภาพ 2 ภาพลงไปบนจอภาพยนตร์ พร้อมๆกัน เทคโนโลยีการแสดงภาพ 3 มิติ นั้นมีมานานแล้วนะครับ โดยในยุคแรกนั้น วิธีดูภาพยนตร์ 3 มิติ โดยใช้แว่นสีแดง-น้ำเงิน ส่วนในปัจจุบันนั้นการดูภาพยนตร์ 3 มิติ ต้องสวมแว่นโพลารอยด์ เราลองมาศึกษารายละเอียดของวิธีชมภาพยนตร์ 3 มิติ ทั้ง 2 วิธีนี้กันครับ

1. การดูภาพยนตร์ 3 มิติ โดยใช้แว่นสีแดง-น้ำเงิน


รูปแสดงแว่น 3 มิติ แบบแดง-น้ำเงิน

อออออการดูภาพยนต์ 3 มิติ ด้วยวิธีนี้นั้นใช้เครื่องฉายภาพยนตร์ 2 เครื่อง เครื่องแรกฉายผ่านกระจกกรองแสงสีแดงฉายภาพที่มีสีแดง เครื่องที่สอง ฉายผ่านกระจกกรองแสงสีน้ำเงินฉายภาพที่มีสีน้ำเงิน ฉายพร้อมกันไปที่จอภาพยนตร์ โดยให้ผู้ชมสวมแว่นที่ข้างหนึ่งเป็นสีน้ำเงินและข้างหนึ่งเป็นสีแดง


รูปแสดงภาพที่เกิดจากการฉายภาพจากกล้องทั้ง 2 สี คือสีแดง-น้ำเงิน ลงบนจอภาพยนตร์

อออออถ้าหากเราใช้ปากกาสีแดงและสีน้ำเงินเขียนตัวหนังสือลงบนกระดาษสีขาว เมื่อมองผ่านแว่นสีแดงจะเห็นกระดาษขาวทั้งแผ่นกายเป็นสีแดงและตัวหนังสือสีแดงจะกลมกลืนไปทำให้มองไม่เห็น แต่สีน้ำเงินจะผ่านแว่นสีแดงไม่ได้ จึงมองเห็นตัวหนังสือเป็นสีดำ ในทำนองเดียวกันเมื่อมองผ่านแว่นสีน้ำเงินจะมองไม่เห็นตัวหนังสือสีน้ำเงิน แต่มองตัวหนังสือสีแดงกลายเป็นสีดำไป (หลักการเรื่องนี้ลองหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องสเปกตรัมของแสง และการมองเห็นสีของวัตถุนะครับ)

อออออดังนั้น เมื่อผู้ชมสวมแว่นสีแดงและสีน้ำเงินมองภาพสีแดงและสีน้ำเงิน ตาข้างหนึ่งก็จะมองเห็นแต่ภาพของสีน้ำเงินในขณะที่ตาอีกข้างหนึ่งก็จะเห็นแต่ภาพสีแดง สมองจะรวมภาพจากตาทั้ง 2 ข้าง และสร้างภาพในการรับรู้ของเราเป็นภาพ 3 มิติ ดังแผนภาพด้านล่าง



2. การดูภาพยนตร์ 3 มิติ โดยใช้แว่นโพลารอยด์



รูปแสดงแว่น 3 มิติ แบบโพลารอยด์

อออออภายยนตร์ 3 มิติ อีกระบบหนึ่งที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ผู้ชมต้องสวมแว่นโพลารอยด์ ซึ่งภาพยนตร์ 3 มิติแบบนี้นั้น นำปรากฎการณ์ทางฟิสิกส์ของแสงมาประยุกต์ใช้ ซึ่งปรากฎการณ์ดังกล่าวคือ โพลาไรเซชันของแสง (polarization of light) คำถามต่อมาก็คือ... แล้วการโพลาไรเซชันของแสงคืออะไร

อออออเราทราบกันดีว่าแสงเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งมีสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็กเปลี่ยนแปลงทิศกลับไปกลับมา โดยสนามทั้งสองอยู่ในระนาบที่ตั้งฉากกันและยังตั้งฉากกับทิศในการเคลื่อนที่ของแสง ดังรูป



รูปแสดงทิศของสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็ก

อออออแสงจากแหล่งกำเนิดแสงโดยทั่วไป เช่น ดวงอาทิตย์ หลอดไฟ จะปล่อยคลื่นแสงซึ่งไม่ได้มีทิศของสนามไฟฟ้าเพียงทิศเดียว(และสนามแม่เหล็ก) แต่จะมีทิศของสนามไฟฟ้า ต่างกันมากมาย เราจะเรียกแสงที่มีทิศการสั่นของสนามไฟฟ้าในแนวเดียวว่า "แสงโพลาไรซ์" และเรียกแสงที่มีทิศของสนามไฟฟ้าในหลายแนว เช่น แสงจากหลอดไฟว่า "แสงไม่โพลาไรซ์"




รูปแสดงระนาบของแสง

ออออออย่างที่บอกไปแล้วนะครับว่า ภาพยนตร์ 3 มิตินั้น ใช้หลักการโพลาไรเซชันของแสง ดั้งนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องทำให้แสงธรรมดา(แสงไม่โพลาไรซ์) กลายเป็นแสงโพลาไรซ์ ซึ่งสามารถทำได้โดย การให้แสงธรรมดาเคลื่อนที่ผ่านแผ่นโพลารอยด์เพราะแผ่นโพลารอยด์นั้นจะมีแกนผลึกซึ่งจะดูดกลืนสนามไฟฟ้าและยอมให้เฉพาะสนามไฟฟ้าที่มีทิศขนานกับแกนผลึกของแผ่นโพลารอยด์ผ่านออกมาได้ ดังนั้นแสงที่ผ่านออกมาจากแผ่นโพลารอยด์จึงกลายเป็นแสงโพลาไรซ์




รูปแสดงการสร้างแสงโพลาไรซ์ด้วยแผ่นโพลารอยด์

อออออจากรูปจะเห็นได้ว่า เมื่อแสงธรรมดาผ่านแผ่นโพลารอยด์แผ่นที่ 1 แสงที่ออกมาจะเป็นแสงโพลาไรซ์ (มีทิศของสนามไฟฟ้าเพียงแนวเดียว) และถ้าให้แสงเดินทางต่อไปยังแผ่นโพลารอยด์แผ่นที่ 2 ซึ่งมีแกนของแผ่นโพลารอยด์ตั้งฉากกับแผ่นแรก แสงก็จะไม่สามารถผ่านแผ่นโพลารอยด์แผ่นที่ 2 นี้ออกไปได้ หากจะกล่าวให้เห็นภาพก็คือหากเรานำแผ่นโพลารอยด์ 2 แผ่นซึ่งมีแกนของผลึกตั้งฉากกันมาซ้อนกันและใช้ส่องมองดวงไฟ เราจะไม่เห็นแสงจากดวงไฟเลยนั่นเองครับ

อออออสำหรับแว่นโพลารอยด์สำหรับชมภาพยนตร์ 3 มิตินั้น ทิศทางของแกนโพลาไรซ์ของแสงของแสงที่ผ่านแว่นตาทั้งสองจะอยู่ในแนวตั้งฉากกัน ดังนั้นแสงโพลาไรซ์ที่ผ่านแว่นข้างขวาได้จะไม่สามารถผ่านแว่นข้างซ้ายได้ และแสงโพลาไรซ์ที่ผ่านแว่นข้างซ้ายได้ก็จะไม่สามารถผ่านแว่นข้างขวาได้เช่นเดียวกัน

อออออเมื่อใช้เครื่องฉายภาพยนตร์ 2 เครื่อง แต่ละเครื่องมีแผ่นโพลารอยด์กั้น ฉายภาพที่เป็นแสงโพลาไรซ์พร้อมกันทั้ง 2 เครื่อง ไปยังจอภาพยนตร์ที่ทำจากโลหะ (การสะท้อนแสงของโลหะจะไม่เปลี่ยนทิศทางของแสงโพลาไรซ์) ทำให้ทิศทางการสั่นของแสงโพลาไรซ์ทั้ง 2 ชุด อยู่ในแนวตั้งฉากกัน ภาพที่เราเห็นปรากฎบนจอโดยไม่สวมแว่นโพลารอยด์ จึงเป็นภาพ 2 ภาพซ้อนเหลื่อมกันในลักษณะดังนี้



รูปแสดงภาพยนตร์ 3 มิติที่ปรากฏเมื่อไม่ได้สวมแว่นโพลารอยด์

อออออผู้ชมที่สวมแว่นโพลารอยด์ แว่นข้างซ้ายจะให้ภาพจากเครื่องฉายด้านซ้ายผ่านได้เท่านั้น ในขณะที่แว่นข้างขวาก็จะให้ภาพจากเครื่องฉายด้านขวาผ่านได้เท่านั้น สมองจะรวมภาพจากตาทั้ง 2 ข้าง และสร้างภาพในการรับรู้ของเราเป็นภาพ 3 มิติ ดังแผนภาพด้านล่าง




อออออคงทราบกันแล้วนะครับว่าภาพยนตร์ 3 มิติ นั้นมีหลักการอย่างไร แต่ผมยังมีประเด็นทิ้งท้ายไว้ หากเราลองหลับตา 1 ข้าง ในขณะที่สวมแว่นโพลารอยด์รับชมภาพยนตร์ 3 มิตินั้น ภาพที่เห็นจะเป็นอย่างไร แบกความอยากรู้เข้าไปอาจช่วยให้การชมภาพยนตร์ 3 มิติ ของคุณสนุกขึ้นก็ได้นะครับ

วันศุกร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2555

โทรศัพท์มือถือ กับเทคโนโลยีสมัยใหม่


Oho-idea สำหรับแนวคิดแปลกใหม่น่าสนใจของเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือในอนาคตหรือ Concept Phone ที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตล้ำสมัย ฟังก์ชั่นการทำงานหลากหลาย ไม่ยึดติดกับรูปร่างลักษณะแบบเดิมๆ ของโทรศัพท์มือถือในปัจจุบัน มาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับชีวิตประจำวันของเรามากขึ้น ตอบสนองผู้ใช้งานและเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีใน อนาคต




Weather Cell Phone Concept
แนวคิดมือถือ โทรศัพท์มือถือบอกสภาพดินฟ้าอากาศ (Weather Cell Phone Concept) มีแนวคิดและจุดเด่นตรงตัวเครื่องทำจากวัสดุ โปร่งใส ขนาดบางเฉียบ หน้าจอสามารถแสดงผลได้เต็มพื้นที่ตัวเครื่อง ใช้ระบบสัมผัสในการควบคุมการทำงาน สามารถตรวจวัดสภาพอากาศในปัจจุบันแล้วแสดงผลบนตัวเครื่องได้ อย่างเช่น อากาศปลอดโปร่ง หน้าจอจะใสแจ๋ว หากฝนตกตัวเครื่องก็จะมีหยดน้ำฝนเกาะอยู่ และถ้ามีหิมะตกหน้าจอก็จะเป็นฝ้าด้วยไอความเย็นของหิมะ และหากต้องการโทรออกหรือเขียนข้อความ เพียงแค่ใช้ปากเป่าลมไปยังหน้าจอ ก็สามารถเขียนตัวอักษรหรือวาดรูปต่างๆ ลงไปได้เลย

ผลงานการออกแบบของ Seunghan Song





Mobile script Concept

โดย แนวคิดโทรศัพท์มือถือร่วมสมัย เพื่อต้องการความคล่องตัวในการใช้งาน ด้วยหน้าจอระบบสัมผัสขนาดใหญ่ 9.5 นิ้วที่สามารถดึง เข้า-ออกจากตัวเครื่องด้านข้างได้ หรือที่เรียกว่า "Script Concept" ซึ่งเหมือนวิธีการ ส่งสาร จดหมายสมัยโบราณ ที่ส่งเป็นลักษณะม้วนกระดาษ นับว่าเป็นแนวคิดที่ดี ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในสมัยใหม่ได้ดีทีเดียว





Projector Cell Phone Concept

แนวคิดมือถือโทรศัพท์มือถือที่ต้องการเป็นมากกว่ามือถือธรรมดา เป็นแนวคิดสมาร์ทโฟนขนาดบางเฉียบ ติดโปรเจคเตอร์หรือเครื่องฉายภาพ (Projector Concept) ไว้ ตรงกลางของตัวเครื่องรอยต่อระหว่างจอแสดงผลที่สามารถหมุนขึ้นได้กับแผงปุ่ม กด ผู้ใช้สามารถส่งภาพในโทรศัพท์ออกไปยังฉากหรือผนังเพื่อรับชมภาพในขนาดใหญ่ ได้

ผลงานการออกแบบของ Stefano Casanova





Alarm Clock Cell Phone Concept

แนวคิดโทรศัพท์มือถือนาฬิกาปลุกตั้งโต๊ะ Sony Ericsson รูปทรงคล้ายนาฬิกาปลุกตั้งโต๊ะ มองเห็นเวลาชัดเจนด้วยรูปแบบนาฬิกาดิจิตอลขนาดใหญ่ มีเครื่องเล่น Walkman, ติดกล้องถ่ายรูป และใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ขนาด AAA 2 ก้อน

ผลงานการออกแบบของ Carl Hagerling



Pen Cell Phone Concept

แนวคิดโทรศัพท์มือถือรูปทรงปากกา ความยาว 8.7 นิ้ว ปุ่มกดตัวเลข 1-9 เรียงจากหัวปากกาไป ด้านบน ถัดไปเป็นจอแสดงผล รองรับการ์ดหน่วยความจำภายนอก MicroSD ภายในประกอบด้วย ฟังก์ชั่นพื้นฐานเหมือนโทรศัพท์ทั่วไป เพียงแต่ว่าง่ายต่อการพกพาสะดวกกว่าเท่านั้น


Edge Cell Phone Concept

แนวคิดโทรศัพท์มือถือรูปทรงสไลด์ ที่มีแผงปุ่มกดทำจากวัสดุโปร่งใส ขนาดบาง ใช้ระบบสัมผัส เมื่อเราต้องการกดหมายเลขก็เพียงเลื่อนสไลด์แผงปุ่มที่ใสๆ ออกมาเท่านั้นเอง

ผลงานการออกแบบของ Chris Owens




Grass Cell Phone Concept

แนวคิดโทรศัพท์มือถือต้นหญ้าหรือ Grass Cell Phone มาจากแนวคิดเนื่องด้วยธรรมชาติสร้างสรรค์ เทคโนโลยีให้ควบคู่กันไปได้อย่างลงตัว จึงไม่เป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม เพราะมือถือต้นหญ้าเครื่องนี้ก็จะค่อยๆ ย่อยสลายตัวเองไปตามกาลเวลาภายในระยะเวลา 2 ปี เพราะว่าวัสดุที่ใช้ทำเป็นวัสดุที่สามารถรีไซเคิลได้นั่นเอง

ผลงานการออกแบบของ Je-Hyun Kim


Mechanical Cell Phone Concept

แนวคิดโทรศัพท์มือถือพลังงานจากกลไกการหมุนตัว เครื่อง ด้วยการใช้นิ้วสวมลงไปในรูวงกลมแล้วหมุนโทรศัพท์ไปรอบๆ นิ้วมือ เพียงแค่นี้โทรศัพท์มือถือเครื่องนี้ก็มีพลังงานเพิ่มขึ้นพร้อมด้วยหน้า จอแสดงผลระบบสัมผัสบอกสถานะการชาร์จ

ผลงานการออกแบบของ Mikhail Stawsky




Flexible Cell Phone Concept

แนวคิดโทรศัพท์มือถือกำไลข้อมือ หรือนาฬิกา โดยตัวเครื่องทำมาจากวัสดุที่มีความยืดหยุ่นสูง สามารถโค้งงอ ยึดปลายทั้งสองเข้าหากัน ใช้เป็นกำไลข้อมือ พกพาไปไหนได้สะดวกมากขึ้น

ผลงานการอกแบบของ Shirley A. Roberts




Ear Cell Phone Concept

แนวคิดโทรศัพท์มือถือหูฟังล่องหนหรือที่เรียก ว่า "Ilshat Garipov" ออกแบบให้มีขนาดบาง เฉียบ มีลักษณะคล้ายคลิปหนีบ ดึงส่วนยื่นออกมาเกี่ยวกับช่องหู คล้ายหูฟัง วัสดุประกอบตัวเครื่องแต่ละชั้นใช้โพลิเมอร์สอดแทรกด้วยชิ้นส่วน อิเล็กทรอนิกส์ และเซ็นเซอร์จำนวนมากสามารถตรวจจับผิวหน้าสัมผัสกับตัวเครื่องเปลี่ยนสีพื้น ผิวโทรศัพท์ให้เหมือนกับบริเวณที่ส่วมใสอยู่ ดูผ่านๆ แล้วเหมือนกับโทรศัพท์ล่องหนได้

ผลงานการอกแบบของ Kambala









Credit : http://oho-idea.blogspot.com/2010/03/wow-wow-concept-phone-10.html

วันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2555

ประโยชน์ของแม่เหล็กไฟฟ้า Applications of electromagnets


 แม่เหล็กไฟฟ้ามีประโยชน์มากมาย  ใช้หลักการที่แม่เหล็กดูดแผ่นโลหะเมื่อวงจรปิดซึ่งเป็นการเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานกล  เช่นพลังงานเสียง
มีคนจำนวนไม่น้อยที่รู้สึกพึงพอใจในเสียงที่ทุ้มนุ่มนวลของกระดิ่งไฟฟ้าสำหรับประตูมากกว่าเสียงที่กระด้างน่ารำคาญของกริ่งหรือออดไฟฟ้า  กระดิ่งไฟฟ้า แบบใหม่มักจะออกแบบให้เคาะส่งเสียงที่แตกต่างกัน เสียงต่อเนื่องกันสำหรับประตูหน้าบ้าน (แบบที่มีความซับซ้อนมากกว่านี้ อาจทำให้เคาะส่งเสียงได้ถึง 4 เสียงหรือมากกว่าก็ได้ ) และเคาะส่งเสียงเพียง เสียง สำหรับประตูหลังบ้านการเคาะส่งเสียงดังกล่าวเกิดจากการเคลื่อนที่ของแกนวิ่งของอุปกรณ์แม่เหล็กไฟฟ้าที่เรียกว่าขดลวดเหนี่ยวนำ (แทนที่ตัวตัดวงจรชั่วขณะในกริ่งประตูไฟฟ้า )
การต่อสายไฟในวงจรกระดิ่งไฟฟ้ามีลักษณะเหมือนกับการต่อสายไฟฟ้าของการใช้กริ่งและออดไฟ้ฟ้าร่วมกัน  คือจะใช้หม้อแปลงแรงดันไฟฟ้าเพียงตัวเดียว  เพื่อลดแรงดันไฟฟ้าบ้านลงก่อนจัดจ่ายให้กับกระดิ่งไฟฟ้า  แต่อย่างไรก็ตาม  เมื่อต้องการเปลี่ยนจากการใช้กริ่งและออดไฟฟ้าร่วมกันมาเป็นการใช้กระดิ่งไฟฟ้าเพียงตัวเดียวนั้น  ควรจะตรวจสอบแรงดันไฟฟ้าที่ตัวกระดิ่งใหม่ต้องการเสียก่อน  ซึ่งถ้าพบว่าหม้อแปลงแรงดันตัวเดิมจัดจ่ายแรงดันไฟฟ้าผิดไปจาก            ที่ตรวจสอบพบ  ก็จะต้องทำการเปลี่ยนหม้อแปลงใหม่ด้วย   คลิกอ่านต่อครับ 
            รูปที่ สวิตช์ปุ่มกดที่ประตูหน้าบ้านจะจ่ายกำลังไฟฟ้าให้แก่ขดลวดเหนี่ยวนำตัวบน  ดังนั้น  แกนวิ่งของขดลวดเหนี่ยวนำตัวบนนี้จะวิ่งเข้าเคาะกระทบแผ่นกระดิ่งทั้ง แผ่น  และเมื่อมีการกดสวิตช์ปุ่มกดที่ประตูหลังบ้าน  ขดลวดเหนี่ยวนำตัวล่างจะดูดให้แกนวิ่ง  วิ่งเข้าเคาะกระทบเพียงแผ่นกระดิ่งทางด้านขวามือเท่านั้น  ส่วนการเคลื่อนที่กลับมานั้นแกนวิ่งจะไม่เคาะกระทบกับแผ่นกระดิ่งทางด้านซ้ายมือเท่านั้น  ส่วนการเคลื่อนที่กลับมานั้นแกนวิ่งจะไม่เคาะกระทบกับแผ่นกระดิ่งทางด้านซ้ายมือ  ทั้งนี้เพราะมีลูกยางบรรเทาการกระแทกคอยรับการวิ่งเข้ากระทบของปลายด้านซ้ายของแกนวิ่งตัวล่าง

ใบบันทึกผลการทดลอง
    คลิกบนสวิทซ์ สังเกตว่า มีอะไรเกิดขึ้น  และอธิบายด้วยว่าทำไมถึงเป็นเช่นนั้น
_________________________________________________________________
_________________________________________________________________
_________________________________________________________________
_________________________________________________________________




     
รถไฟแม่เหล็ก
      บทนำ
      วันนี้ถ้าคุณได้เข้าไปในสนามบิน  คุณจะเห็นแต่คนเดินกันพลุกพล่าน  และเสียงจ๊อกแจ๊ก จอแจเต็มสนามบินไปหมด   เสียงเหล่านี้น่ารำคาญยิ่ง   แต่ก็ต้องทนฟัง   เพราะการโดยสารด้วยเครื่องบินเป็นวิธีการเดินทางระหว่างเมืองใหญ่ ในระยะทางไกลๆ ที่เร็วสุดในปัจจุบัน
      ถ้าคุณไม่ใช้เครื่องบิน   หันไปใช้บริการของรถแท๊กซี่  รถบัส   เรือ   และรถไฟ เป็นต้น   ก็ใช้ได้เหมือนกัน   แต่ข้อเสียประการเดียวของมันก็คือ  ช้าไม่ทันใจ   นั่งรถบัสจากกรุงเทพไปเชียงใหม่ต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 8  ชั่วโมง  แต่ถ้าใช้เครื่องบินเพียงชั่วโมงเดียวเท่านั้น   อย่างไรก็ตามในศตวรรษหน้าจะมีการปฏิวัติการเดินทางแบบใหม่เกิดขึ้น   ซึ่งจะช่วยให้คุณเคลื่อนที่ในแนวระดับด้วยความเร็วไม่น้อยกว่าเครื่องบิน
      รถไฟพลังงานแม่เหล็กมีชื่อเรียกเป็นทางการว่า   รถไฟแมกเลฟ ( Maglev  trains )   ด้วยอำนาจการผลักดันของแม่เหล็กทำให้รถไฟทั้งคันลอยอยู่เหนือรางเล็กน้อย   จึงไม่มีแรงเสียดทาน วิ่งได้เร็วเทียบได้กับจรวด  ไม่เหมือนกับรถไฟแบบเก่าที่ใช้ล้อเหล็กกลิ้งอยู่บนราง   ฟิสิกส์ราชมงคลจะเปิดเผยกลไกการทำงานของรถไฟแม่เหล็ก  ให้ทราบในหน้าถัดไป


จากพจนานุกรมฟิสิกส์ ฉบับภาพประกอบ  แปลโดยสมาคมครูวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย

แม่เหล็กไฟฟ้า Electromagnetism


     กระแสที่ไหลผ่านเส้นลวดจะทำให้เกิดสนามแม่เหล็กรอบๆเส้นลวด  ลักษณะของสนามแม่เหล็กขึ้นอยู่กับรูปร่างของเส้นลวดและกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่าน  สนามแม่เหล็กที่เกิดขึ้นนี้เขียนได้โดยวิธีเดียวกับสนามแม่เหล็กจากแม่เหล็กถาวร  ผลที่เกิดขึ้นเรียกว่า  แม่เหล็กไฟฟ้า  ซึ่งใช้สร้างแม่เหล็กกำลังสูง  และใช้สำหรับทำให้เกิดการเคลื่อนที่โดยกระแสไฟฟ้า
Maxwell's  screw  rule :   กฎสกรูของแมกซ์เวลล์
     กล่าวว่าทิศของสนามแม่เหล็กรอบๆเส้นลวดที่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านจะอยู่ในทิศที่สกรูหมุนเมื่อขันสกรูเข้าไปตามทิศของกระแสไฟฟ้า
Right -hand  grip rule  :  กฎกำมือขวา
      กล่าวว่า  ทิศของสนามแม่เหล็กรอบเส้นลวดอยู่ในแนวนิ้วมือขวาที่กำรอบเส้นลวด  โดยที่นิ้วหัวแม่มือชี้ไปตามทิศของกระแสในเส้นลวด
coil  :  ขดลวด
       หมายถึง  ขดลวดหลายๆขดที่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน  ทำได้โดยใช้เส้นลวดพันรอบวัตถุที่เป็นแกน  ตัวอย่างเช่น  ขดลวดแบน และโซลินอยด์
Flat coil  or  plane coil  :  ขดลวดแบน
        เป็นขดลวดที่มีความยาวน้อยเมื่อเทียบกับเส้นผ่าศูนย์กลาง
Solenoid :  โซลินอยด์
       เป็นขดลวดที่มีความยาวมากเมื่อเทียบกับเส้นผ่าศูนย์กลางสนามแม่เหล็กที่เกิดจากโซลีนอยด์  คล้ายกับแท่งแม่เหล็ก  ตำแหน่งของขั้ว  ขึ้นอยู่กับทิศของกระแสไฟฟ้า
Core :  แกน
      เป็นวัตถุที่ใช้แกนเป็นขดลวด  เป็นสิ่งบอกความเข้มของสนามแม่เหล็ก  สารแม่เหล็กชั่วคราว  หรือเหล็กอ่อนทำให้เกิดสนามแม่เหล็กที่มีความเข้มสูงและนิยมใช้ทำแม่เหล็กไฟฟ้า

จากพจนานุกรมฟิสิกส์ ฉบับภาพประกอบ  แปลโดยสมาคมครูวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย